POSTED BY thaivetlab | Nov, 17, 2021 |

เครื่อง ADVIA 2120i เป็นเครื่องตรวจนับเม็ดเลือด (hematology analyzer) ขนาดใหญ่ผลิตโดยบริษัท Siemens ซึ่งออกแบบสำหรับห้องปฏิบัติการมาตรฐานขนาดกลางถึงใหญ่โดยใช้หลักการ laser flowcytometry ร่วมกับการย้อมสีเซลล์เม็ดเลือด มีการทำงานของเครื่องแบบละเอียดซับซ้อน เพื่อให้ได้ผลการตรวจที่แม่นยำมากที่สุด จัดว่าเป็นเครื่องนับเม็ดเลือดในทางสัตวแพทย์ระดับ reference หรือ gold standard ที่ถูกเลือกใช้โดยห้องปฏิบัติการทางสัตวแพทย์และคณะสัตวแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งห้องปฏิบัติการทางสัตวแพทย์ วีดีแอล เซ็นเตอร์ (บริษัท ไทยเว็ทแลป จำกัด) เล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะสนับสนุนสัตวแพทย์ในการวินิจฉัยโรคสัตว์ จึงได้นำเครื่อง ADVIA 2120i ที่มีซอฟแวร์ทางสัตวแพทย์เข้ามาให้บริการตรวจเลือดสัตว์เป็นเครื่องแรกของประเทศไทย ซึ่งเครื่อง ADVIA 2120i เป็นเครื่องนับเม็ดเลือดทางสัตวแพทย์เพียงเครื่องเดียวที่มีศักยภาพในการตรวจนับเม็ดเลือด ทั้งเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดโดยมีการเรียงส่งเซลล์ผ่านลำแสงเลเซอร์ทั้งหมดทำให้มีความแม่นยำสูงในการนับจำนวนเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือด  อีกทั้งสามารถแยกชนิดเม็ดเลือดขาวด้วยการดูขนาดและโครงสร้างภายในเม็ดเลือดขาว ควบคู่กับการย้อมสี myeloperoxidase เพื่อแบ่งชนิดเม็ดเลือดขาวเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ Neutrophil, Eosinophil, Basophil, Monocyte, Lymphocyte และ LUCs (Large Unstained Cells) ซึ่งเป็นเม็ดเลือดขาวอายุน้อยที่ไม่ติดสี peroxidase เพื่อที่จะช่วยสัตวแพทย์ให้สามารถวินิจฉัยโรคได้แม่นยำมากขึ้นโดยเฉพาะเมื่อเกิดการติดเชื้อหรือมีเซลล์มะเร็งของเม็ดเลือดในสัตว์

1. เทคนิคการทำงานของเครื่อง

วิธีการทำงานของเครื่อง ADVIA 21020i จะเริ่มจากการดูดปริมาตรตัวอย่างเลือด 175 ไมโครลิตรและแบ่งตัวอย่างเลือดเข้าช่องวัดจำนวน 5 ช่องทาง (channels) ประกอบด้วย ช่องทางวัด (1)hemoglobin, (2) RBC/Platelets, (3)peroxidase for WBC, (4) lobularity/nuclear density for WBC, และ (5) Reticulocyte

  • การวัดในchannel ที่ 1 hemoglobin จะใช้น้ำยาชนิด cyanide-free เพื่อช่วยปกป้องสิ่งแวดล้อม และประเมินค่าฮีโมโกลบินควบคู่กับการวัดการกระเจิงของแสงในเซลล์เม็ดเลือดแดงใน channel ที่ 2 และรายงานค่า hemoglobin concentration (HGB), mean corpuscular hemoglobin (MCH),และ mean corpuscular hemoglobin concentration (MCHC)
  • การวัดในchannel ที่ 2 RBC/Platelets เม็ดเลือดแดงเมื่อผสมกับน้ำยาจะถูกเปลี่ยนเป็นเซลล์ทรงกลม (spheres) และเกล็ดเลือดจะถูกเปลี่ยนเป็นเซลล์ทรงกลมเทียม (Pseudospheres) ก่อนที่จะผ่านลำแสงเพื่อดูการกระเจิงของแสง (light-scatter) ที่มุม 2-3 องศา (low-angle light scatter) และ 5-15 องศา(high-angle light scatter) ข้อมูลที่ได้จะถูกคำนวณทางคณิตศาสตร์เป็นปริมาตรของเซลล์ (volume,V) และดัชนีการหักเหของแสง (refractive index) โดยอาศัยหลักการ Lorenz-Mie theory ทำให้ทราบปริมาณฮีโมโกลบิน(hemoglobin concentration, VC) ของเซลล์เม็ดเลือดแดงแต่ละเซลล์ก่อนที่จะแสดงผลเป็นกราฟการกระจายตัวของเซลล์เม็ดเลือดแดง ( RBC V/HC cytogram) ซึ่งเครื่องadvia 2120i มีศักยภาพในการวัดเซลล์เม็ดเลือดแดงตั้งแต่ขนาด 1 fL ถึง 180 fL หลังจากนั้นจะคำนวณหาค่า the corpuscular hemoglobin concentration mean (CHCM) ซึ่งเหมือนกับค่า the mean corpuscular hemoglobin concentration (MCHC) ในแบบเดิมที่เราคุ้นเคยและรู้จักกันเป็นอย่างดี ในส่วนของเกล็ดเลือดเครื่องจะสามารถวัดขนาดของเกล็ดเลือดได้ตั้งแต่ 1 fL ถึง 60 fL และคำนวณค่า platelet component concentration values (gm/dL)

       ด้วยเทคนิคจำเพาะของเครื่อง ADVIA 2120i ในการจำแนกเม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดโดยอาศัยการวัด refractive index (ที่ไม่เหมือนเครื่องอื่นๆ ซึ่งมักจะใช้หลักการ impedance เพราะวัดง่ายและน้ำยามีราคาย่อมเยากว่า) ทำให้เครื่อง ADVIA 2120i สามารถจำแนกเซลล์เม็ดเลือดแดงออกจากเกล็ดเลือดได้ดีในกรณีที่เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดมีขนาดใกล้เคียงกันหรือซ้อนทับกันซึ่งเครื่องที่ใช้หลักการimpedanceไม่สามารถทำได้ และยังสามารถจำแนกเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติ เช่น RBC fragments, RBC ghosts และเศษของเซลล์ ออกจากเม็ดเลือดแดงปกติและเกล็ดเลือด แบบที่เครื่องที่ใช้หลักการ impedance ไม่สามารถทำได้และนับรวมปนเข้าไปเป็นเม็ดเลือดแดงหรือเกล็ดเลือด
  • การวัดในchannel ที่ 3โดยการย้อมสี Myeloperoxidase สำหรับการนับเม็ดเลือดขาว ใน channel นี้เม็ดเลือดแดงจะถูกทำให้แตก(lysis) และสีจะย้อม peroxidase ในเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด neutrophils eosinophils และ monocytes จะย้อมติดสี (peroxidase-positive) ในขณะที่ lymphocytes basophils และ large unstained cells จะย้อมไม่ติดสี (peroxidase-negative) หลังจากนั้นเซลล์เม็ดเลือดขาวจะถูกจำแนกด้วยการวัดการดูดกลืนแสง (light absorbance) ออกเป็น 6 กลุ่ม ( 6-parts diff)
  • การวัดในchannel ที่ 4 Lobularity/Nuclear Density หรือเรียกอีกอย่างว่า BASO channel ในช่องนี้จะรายงานผลการนับจำนวนรวมเม็ดเลือดขาว (Total WBC) และ basophils โดยน้ำยาจะทำลายเม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือด จากนั้นจะสลาย cytoplasmic membrane ของเม็ดเลือดขาว ยกเว้นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด Basophils เมื่อผ่านเซลล์เข้าไปใน flowcytometer เม็ดเลือดขาวจะถูกนับจำนวน และ Basophil ที่ไม่ถูกเปลี่ยนแปลงด้วยน้ำยาจะมีเซลล์ขนาดใหญ่ที่สุดจึงถูกนับแยกออกจากเม็ดเลือดขาวชนิดอื่นได้ใน channel นี้
  • การวัดในchannel ที่ 5 เพื่อนับ reticulocyte ใน channel นี้ จะใช้เทคนิคการย้อมเม็ดเลือดแดงด้วยสี Oxazine 750 เพื่อแยกเซลล์เม็ดเลือดแดงที่อายุน้อย (reticulocytes) ออกจากเม็ดเลือดแดงเต็มวัย (mature RBCs) นอกจากนี้สัตว์ตระกลูแมว (feline) จะใช้วิธีนับตัวอย่าง 3รอบ และจำแนกเม็ดเลือดขาวชนิด Eosinophil ใน channels นี้  เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการนับ สัตวแพทย์อาจเลือกตรวจเลือดแมวแบบ CBC/Diff/Retic เพื่อให้ได้ค่านับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด Eosinophil ที่มีความแม่นยำเพิ่มขึ้น

 

2. การรายงานผล (reports)

เครื่อง ADVIA 2120i เป็นเครื่องนับเม็ดเลือดที่สนับสนุนซอฟแวร์จำเพาะทางสัตวแพทย์ ซึ่งสามารถวัดค่าเลือดในสัตว์ได้ถึง 51 ชนิด อาทิ Dog, Cat, Horse, Mouse, Mouse Balb, Mouse CD1, Mouse C578BL, Rat, Rat LE, Rat SD, Rat Wistar, Guinea Pig, Rabbit, Rabbit NZW, Cynomolgus Monkey, Rhesus Monkey, Pig, Cattle, Goat, Sheep และสัตว์ชนิดอื่นๆได้

เครื่องจะรายงานผลค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ซึ่งแตกต่างตามชนิดของสัตว์ ซึ่งมีตัวอย่างข้อมูล ประกอบด้วย

Parameter อักษรย่อ Unit
RBC count RBC X 106 cells/µL
Hemoglobin HGB g/dL
Hematocrit HCT %
Mean corpuscular volume MCV fL
Mean corpuscular hemoglobin MCH pg
Mean corpuscular hemoglobin concentration MCHC g/dL
RBC distribution width RDW %
Platelet count PLT X 105 cells/µL
Mean Platelet volume MPV fL
Plateletcrit PCT %
Platelet distribution width PDW %
_
WBC count WBC X 103 cells/µL
Neutrophil percentage and number Neut % , # %, X 103 cells/µL
Lymphocyte percentage and number Lymph %, # %, X 103 cells/µL
Monocyte percentage and number Mono %, # %, X 103 cells/µL
Eosinophil percentage and number Eos %, # %, X 103 cells/µL
Basophil percentage and number Baso %, # %, X 103 cells/µL
Large unstained cell percentage and number LUC%, # %, X 103 cells/µL
Nucleated RBC NRBC X 109 cells/L
_
RBC fragments X 106 cells/µL
RBC Ghosts X 106 cells/µL
Hyperchromasia percentage %Hyper %
Hypochromasia percentage %Hypo %
Macrocytosis %Macro %
Microcytosis %Micro %
_
Reticulocyte count percentage and number Retic %, # %, X 109 cells/L
Reticulocyte hemoglobin content CHr pg
Hemoglobin erythrocyte content CHm pg

 

3. การแปลผลจากกราฟ

นอกจากการรายงานผลการตรวจเป็นค่าตัวเลข (quantitative) แล้ว เครื่องนับเม็ดเลือด ADVIA 2120i ยังสามารถรายงานผลกลุ่มตัวอย่างของเซลล์เม็ดเลือดชนิดต่างๆ ออกมาในรูปแบบของกราฟที่สะท้อนผลการตรวจในเชิงคุณภาพ (qualitative) ร่วมด้วย ซึ่งจะช่วยให้สัตวแพทย์ทราบถึงคุณภาพของตัวอย่างเลือด การกระจายตัวของกลุ่มเซลล์เม็ดเลือด และสิ่งรบกวนการตรวจวัด ที่เครื่องนับเม็ดเลือดทั่วไปหรือรายงานผ่านระบบ LIS ที่มีการรายงานผลเฉพาะตัวเลขไม่สามารถบอกได้ ดังนั้นข้อมูลที่ได้จากเครื่อง ADVIA 2120i จะช่วยให้สัตวแพทย์สามารถแปลผลการตรวจเลือดได้แม่นยำ (accuracy) และเที่ยงตรง (precision) มากขึ้น ในเบื้องต้นขออธิบายเพิ่มเติมตัวอย่างกราฟ 6 ชนิดที่จะช่วยประเมินผลการตรวจและช่วยสัตวแพทย์ในการวินิจฉัยโรค

3.1 กราฟ RBC V/HC เนื่องจากเครื่อง ADVIA 2120i เป็นเครื่องเดียวที่สามารถวัดขนาดเม็ดเลือดแดง (volume, V) และความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดงแต่ละเซลล์ (hemoglobin concentration, HC) จึงมีการนำข้อมูลมาแสดงเป็นกราฟแสดงผลขนาดของเม็ดเลือดแดงในแนวแกนตั้งและปริมาณของเม็ดเลือดแดงในแนวแกนนอน โดยแบ่งออกเป็นตาราง 9 ช่องดังในภาพ

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของประชากรเซลล์เม็ดเลือดแดงทั้งในเชิงขนาดเม็ดเลือดแดงและปริมาณฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงแบบต่างๆ จึงสามารถพิจารณาได้จากการเห็นกลุ่มเซลล์เม็ดเลือดแดงขยับจากช่องตรงกลางไปในทิศทางดังต่อไปนี้

  • กรณี Macrocytic Hypochromic (ขยับไปทางช่อง หมายเลข 1) ซึ่งอาจพบได้ภาวะ myelodysplastic syndrome ที่อาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของไขกระดูกหรือมะเร็ง เป็นต้น
  • กรณี Macrocytic Normochromic ขยับไปทางช่อง หมายเลข 2 พบในภาวะ megaloblastic anemia ที่อาจมีสาเหตุมาจาก การขาดไวตามิน B12, folic acid, leukemia, FeLV infection, bone marrow disorders, genetics หรือ chemotherapy เป็นต้น และอาจจะพบได้ในสุนัขสุขภาพปกติสายพันธุ์ Poodle
  • Macrocytic Hyperchromic ขยับไปทางช่อง หมายเลข 3 มีโอกาสพบน้อย อาจจะเกิดจาก invitro หรือ invivo hemolysis, หรือ Heinz bodies นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการคำนวณค่าฮีโมโกลบินสูงเกินจริงเนื่องจากสภาวะ lipidemia หรือ icteric sample
  • Normocytic Hypochromic ขยับไปทางช่อง หมายเลข 4 มีโอกาสพบได้น้อยมาก อาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เม็ดเลือดแดงในระยะต้นก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงขนาดของเม็ดเลือดแดง
  • Normocytic Hyperchromic ขยับไปทางช่อง หมายเลข 6 มีสาเหตุเหมือนกับในกรณี Macrocytic Hyperchromic
  • Microcytic Hypochromic ขยับไปทางช่อง หมายเลข 7 สาเหตุที่สำคัญได้แก่การขาดธาตุเหล็ก(iron deficiency) หรืออาจเกิดจากการขาด copper หรือ Vitamin B6
  • Microcytic Normochromic ขยับไปทางช่อง หมายเลข 8 อาจเกิดจากการขาดธาตุเหล็กในช่วงแรกที่ยังเห็นการเปลี่ยนแปลงของฮีโมโกลบินไม่ชัด ภาวะตับวาย (hepatic failure), portosystemic shunt, dyserythropoiesis ในสุนัขสายพันธุ์ English springer spaniels และอาจพบได้ในสุนัขสุขภาพปกติสายพันธุ์ Akita หรือ Shiba เป็นต้น
  • Microcytic Hyperchromic ขยับไปทางช่อง หมายเลข 9 อาจเกิดจากเม็ดเลือดแดงประเภท spherocytes หรือ dehydrated cells

จะเห็นได้ว่าในกรณีที่มี ความผิดปกติของกลุ่มเซลล์บางกลุ่ม จะเห็นความผิดปกติได้ในกราฟ scattergram แบบนี้ แต่ถ้าดูเฉพาะค่าตัวเลขซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของเซลล์ทั้งหมดเราจะสังเกตเห็นได้ยาก

3.2 กราฟ RBC Scatter เป็นกราฟแสดงการกระจายตัวของเซลล์เม็ดเลือดแดง

โดยที่เครื่องจะแยกเกล็ดเลือดออกจากเม็ดเลือดแดงที่มีขนาดใกล้เคียงกันโดยอาศัยค่า refractive index และยังสามารถแยก ส่วนของ RBC ghost cells และ RBC fragments ออกจากเซลล์เม็ดเลือดแดงปกติได้ ซึ่งจะสะท้อนถึงปริมาณและคุณภาพในการนับจำนวนเม็ดเลือดแดงที่เครื่อง ADVIA 2120i สามารถนับได้แม่นยำมากกว่าการนับที่อาศัยหลักการ impedance (ซึ่งอาศัยขนาดของเซลล์แต่เพียงอย่างเดียว) โดยเฉพาะในสัตว์หลายชนิดที่มีขนาดของเม็ดเลือดแดงใกล้เคียงกับขนาดของเกล็ดเลือด

และมีรายงานการวัดค่า Red blood cell Distribution Width (RDW) ในสุนัขด้วยเครื่อง ADVIA 2120i พบค่า RDW สูงกว่าปกติในกรณี immune-mediated hemolytic anemia, immune-mediated thrombocytopenia, hyperadrenocorticism, hypothyroidism, hepatic vascular anomaly, pneumonia, chronic kidney diseases, multi-centric lymphoma, และ myxomatous mitral valve degeneration เป็นต้น

3.3 กราฟ Perox หรือ WBC scattergram เครื่อง ADVIA 2120i จะจำแนกชนิดของเม็ดเลือดขาวโดยการย้อมสี Peroxidase แล้ววัดการดูดกลืนแสง เพื่อจำแนกเม็ดเลือดขาวออกเป็นกลุ่มต่างๆ ได้แก่ Neutrophils (Neu) Eosinophils (Eos), Lymphocytes (Ly), Monocytes(Mono) และ Large unstained cells (LUC) ซึ่งเป็นเม็ดเลือดขาวอายุน้อยหรือกลุ่มเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว ดังภาพ

3.4 กราฟ BASO เครื่อง ADVIA 2120i จะจำแนกเม็ดเลือดขาวชนิด Basophils (BASO) ในช่องการวัด Lobularity/Nuclear Density ซึ่ง เซลล์ Basophils ที่คงสภาพเดิมในน้ำยาจะมีขนาดใหญ่และสามารถแยกออกจากเซลล์เม็ดเลือดขาวกลุ่ม mononuclear cells (Lymphocytes, Monocytes) และกลุ่ม polymorphonuclear cells (Neutrophils, Eosinophils) ได้ดังภาพ

3.5 กราฟ PLT Scatter เครื่อง ADVIA 2120i จะนับจำนวนเกล็ดเลือดโดยอาศัยหลักการ 2-dimentional analysis ซึ่งสามารถแยกเซลล์อื่นที่มีขนาดหรือลักษณะคล้ายเกล็ดเลือดออกจากเกล็ดเลือด ทำให้สามารถแสดงค่าการนับเกล็ดเลือดได้อย่างแม่นยำ และลดปัญหาค่าเกล็ดเลือดสูง (false high) อันมีปัจจัยมาจากค่ารบกวนของ RBC ghosts และ RBC fragments ดังแสดงในภาพ

ในกรณีที่มีจำนวนเกล็ดเลือดต่ำ เครื่อง ADVIA 2120i ก็สามารถนับจำนวนได้อย่างแม่นยำ โดยสามารถวัดได้ตั้งแต่ในช่วงตั้งแต่ 5,000-3,500,000 เซลล์ต่อไมโครลิตรจึงช่วยประเมินสภาวะ Thrombocytopenia ได้เป็นอย่างดี และด้วยความสามารถนี้ทำให้เครื่อง ADVIA 2120i สามารถรายงานผลค่าจำนวนนับเกล็ดเลือดได้ดีกว่าเครื่องที่ใช้หลักการ impedance และการนับด้วยวิธี manual

นอกจากนี้เครื่องยังสามารถรายงานค่าเฉลี่ยของขนาดเกล็ดเลือด (Mean Platelet volume,MPV) ค่าเกล็ดเลือดอัดแน่น (Plateletcrit, PCT) และการกระจายตัวของเกล็ดเลือด (Platelet distribution width, PDW) ซึ่งค่าพารามิเตอร์เหล่านี้จะช่วยวินิจฉัยในกรณี immune-mediated thrombocytopenia, หรือEhrlichiosis

3.6กราฟ Retic Scatter absorption เครื่อง ADVIA 2120i จะย้อม reticulocytes ด้วย oxazine 750 เมื่อเซลล์ผ่านลำแสงเลเซอร์เครื่องจะวัด light scatter (size) ในแนวแกน Y และ light absorption (cell maturation) ในแนวแกน X ดังภาพ

เซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีอายุน้อยจะที่มี RNA contents เยอะ จะ absorb แสงมากกว่าเซลล์เม็ดเลือดแดงเต็มวัย เมื่อนำมาเรียงจะเห็น mature RBC อยู่ซ้ายสุด และ immature RBC (reticulocytes) กระจายไปด้านขวาตามปริมาณ light absorption (RNA contents) ในเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งการนับด้วยเครื่อง ADVIA 2120i จะให้ค่าที่เที่ยงตรงแม่นยำมากกว่าการนับด้วยวิธี manual (วิธี manual จะมีค่าสัมประสิทธิ์ของการแปรปรวน (Coefficient of Variation;CV) สูงกว่าการนับด้วยเครื่อง advia) จากนั้นเครื่อง ADVIA 2120i จะรายงานค่าจำนวน Reticulocytes (%) และค่า Reticulocyte hemoglobin content (CHr, pg) ที่สะท้อนขบวนการ erythropoiesis เมื่อพบว่าค่า CHr ต่ำ ซึ่งอาจจะพบในกรณีที่เกิดสภาวะ anemia จาก iron deficiency หรือจาก inflammation เช่นในภาวะ immune mediated hemolytic anemia หรือ portosystemic shunts เป็นต้น

 

สรุปคุณสมบัติอของเครื่อง ADVIA 2120i

  1. เป็นเครื่องนับเม็ดเลือดทางสัตวแพทย์ที่มีวิธีการวัดอย่างละเอียด เพื่อให้ค่าการวัดที่เที่ยงตรงและแม่นยำโดยแบ่งเป็น 5 ช่องวัด จัดว่าเป็นเครื่องนับเม็ดเลือดทางสัตวแพทย์ในระดับ reference
  2. มีการแสดงผลค่านับเม็ดเลือดทั้งในรูปแบบจำนวนและกราฟที่แสดงผลได้ครอบคลุมและง่ายต่อการอ่านค่าและแปลผลโดยสัตวแพทย์ เพื่อที่จะนำข้อมูลไปใช้ในการวินิจฉัยโรค
  3. มีซอฟแวร์สนับสนุนการนับเม็ดเลือดในสัตว์ชนิดต่างๆที่ครอบคลุมทั้ง ปศุสัตว์ สัตว์เลี้ยง และ สัตว์ทดลอง ซึ่งเป็นเครื่องเดียวที่มีซอฟแวร์ที่สามารถระบุทั้งชนิด (species) และสายพันธุ์ (Strain) ของสัตว์ได้
  4. เป็นเครื่องเดียวที่มีความสามารถ
    • จำแนกเม็ดเลือดขาวออกเป็น 6 กลุ่ม (6-parts diff) โดยอาศัยการวัด ในช่อง Perox channel และ Baso channel
    • แยกเกล็ดเลือดออกจากเม็ดเลือดแดง RBC ghost cells และ RBC fragments โดยใช้หลักการวัด refractive index และ light scattering (Mie Theory)
    • แสดง platelets scattergram ซึ่งไม่มีในเครื่องนับเม็ดเลือดทางสัตวแพทย์แบบที่ใช้หลักการ impedance หรือเครื่อง flow cytometerเครื่องอื่น
    • มีการนับจำนวนเม็ดเลือดขาว (total WBC) ใน 2 ช่องคือ Perox channel และ Baso channel เพื่อตรวจสอบข้อมูลและเพิ่มความแม่นยำก่อนรายงานผล
    • มีการวัดปริมาณฮีโมโกลบินทั้งวิธี colorimetry (non-cyanide method) และ light scatter analysis เพื่อตรวจสอบข้อมูลและเพิ่มความแม่นยำก่อนรายงานผล

 

Flagging

Flag Criteria
ANISO Anisocytosis

RDW > 16%

Grading

+         RDW = 16.0-17.9%

++       RDW = 18.0-22.0%

+++     RDW > 22.0%

ATYP Atypical lymphocytes %LUC > 4.5 หรือ %LUC >  %BLAST by 1.5 or more

Grading

+         %LUC = 4.5-7.4%

++       %LUC = 7.5-10.0%

+++     %LUC > 10.0%

BLASTS Blast cells %BLASTSระหว่าง 1.5-5.o % และ %LUC ≥ 4.5 หรือ

%BLASTS > 5 หรือ

%BASO +%BASO susp + %BASO Sat ≥ 10%

Grading

+         %BLASTS = 1.5-5.0%

++       %BLASTS > 5.0-10.0%

+++     %BLAST > 10.0%

HCVAR Hemoglobin distribution width (HDW) ≥ 3.4 g/dL

Grading

+         HDW = 3.4-3.9

++       HDW > 4.0-4.6

+++     HDW > 4.6

HYPER Hyperchromasia %HYPER ≥ 4

Grading

+         %HYPER = 4.0-7.9%

++       %HYPER = 8.0-12.0%

+++     %HYPER > 12.0%

HYPO Hypochromasia %HYPO ≥ 4

Grading

+         %HYPO = 4.0-7.9%

++       %HYPO = 8.0-12.0%

+++     %HYPO > 12.0%

IG Immature granulocytes [(%NEUT + %EOS) – %PMN] ≥ 5.0%

Grading

+         [(%NEUT + %EOS) – %PMN] = 5.0-7.4%

++       [(%NEUT + %EOS) – %PMN] = 7.5-10.0%

+++     [(%NEUT + %EOS) – %PMN] > 10.0%

LPLT Large platelets %LPLT > 10%

Grading

+         %LPLT = 10.0-11.9%

++       %LPLT = 12.0-14.0%

+++     %LPLT > 14.0%

LS Left shift

BASO d/D < 0.15 and %NEUT ≥ 30%

Lobularity index (LI) = PMN peak/14

Grading

+         LI > 1.9

++       LI = 1.7-1.9

+++     LI < 1.7

MACRO Macrocytosis %MACRO ≥ 2.5

Grading

+         %MACRO = 2.5-6.4%

++       %MACRO = 6.5-10.5%

+++     %MACRO > 10.5%

MICRO Microcytosis %MICRO ≥ 2.5

Grading

+         %MICRO = 2.5-6.4%

++       %MICRO = 6.5-10.5%

+++     %MICRO > 10.5%

NRBC Nucleated RBC WBCu ≥ to 3000 cells/µL and nRBC ≥ 2 cells/100WBC

หรือ nRBC ≥ 200 cells/µL

PLT-CLM Platelet clumping Clumps count > 150
TAGS:

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

nine + 10 =